Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

เชื่อหรือไม่ว่า“ประตูกะบะห์”เป็นฝีมือของช่างมุสลิมไทย


คุณเชื่อหรือไม่ว่า “ประตูกะบะห์” เป็นฝึมือของช่างมุสลิมไทย    ท่านทราบหรือไม่ว่าประตูกะบะห์ที่มห­านครมักกะห์ ซึ่งเป็นจุดรวมจิตใจของชาวมุสลิมทั่วโลกนั้น เป­็นไม้จากประเทศไทยและเป็นฝีมือของช่างคนไท­ย โดยอาจารย์อับดุลเลาะห์ นาคนาวา ณ หมู่บ้านวัฒนธรรมโลกอาหรับ จำลอง นาคนาวาฟาร์ม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 

เมื่อปี พ.ศ. 2519 มีคณะราชวงศ์ของประเทศซาอุดีอาระเบีย มาเยือนประเทศไทย ซึ่งในคณะก็มีเจ้าชายอามีร มายิด ซึ่งเป็นผู้ว่าการนครมักกะห์ในขณะนั้นร่วมเดินทางมาด้วย โดยมีเช็คอับดุลเลาะห์ บินตุรกี เป็นเลขา และในคณะก็ยังมีเช็คอะหมัด อิบรอฮีม บะดุร (ซึ่งเป็นผู้รับผิดขอบการทำประตูกะบะห์) ร่วมเดินทางมาด้วย 

ซึ่งในขณะนั้นได้มีคุณคฑาวุธ (อับดุลเลาะห์) นาคนาวา เป็นล่ามถ่ายทอดภาษา เช็คอะหมัด เล่าให้ฟังว่า น้องชายของท่านคือ ดร.ฟาอีส อิบรอฮีม บะดุร ซึ่งเป็นผู้ว่าการการท่าเรือยิดดะห์ ได้ติดต่อไม้มะค่าโมง ไปจากประเทศไทยเพื่อทำประตูกะบะห์ 

แต่ตอนนี้ท่านต้องการช่างไม้และช่างทองเพื่อไปช่วยในงานนี้ ซึ่งท่านได้ให้คุณคฑาวุธเป็นผู้ประสานงานนี้ตั้งแต่เริ่มต้น 
โดยการหาช่างไม้ได้แก่ 
*คุณอีซา กาสุหลง 
*คุณสุไลมาน ซันหวัง 
*คุณฮุเซ็น และอิ่ม 
*ส่วนช่างทองได้แก่คุณอาลี มูลทรัพย์ 
*คุณฮุไซนี และคุณกอเซ็ม

ซึ่งทั้งหมดก็ได้เดินทางไปทำงานชิ้นสำคัญนี้ โดยงานชิ้นนี้ได้รับการออกแบบโดยช่างแบบชาวซีเรีย
ชื่อมูนีร ยุนดี ซึ่งมีข้อตกลงกับกระทรวงเอากอฟว่า  - ต้องออกแบบโดยใช้ลักษณะตัวอักษรอาหรับแบบคอต ที่จะเขียนอายะห์อัลกุรอาน
- ต้องเลือกแบบลายศิลปะที่เป็นแบบอิสลามและเข้ากับความเป็นจริง
- การออกแบบของทองคำที่ใช้แกะตัวอักษรต้องมีส่วนของเงินผสมอยู่ด้วย
- ต้องให้ศิลปะสอดคล้องกับวิศวะกรรมสมัยใหม่
- โครงสร้างต้องแน่นหนาสวยงาม ซึ่งไม่ต้องการให้ซ่อมอยู่บ่อย ๆ เมื่อการทำงานเริ่มต้นขึ้นในปี ฮ.ศ 1398 เดือนซุลฮิจยะห์นั้นจะต้องมีการเตรียมงานขั้นต้นก่อนเพื่อให้ประตูเสร็จแล้วจึงไปติดตั้ง ซึ่งในขั้นตอนนี้ทีมงานได้ใช้บ้านของท่าน เช็คอะหมัด อิบรอฮีม บะดุร เป็นโรงงานที่เตรียมงาน ซึ่งในการทำงานนั้นใช้ไม้มะค่าโมงซึ่งมีอายุถึง 200 ปี มีความหนา 3 นิ้ว กว้าง 1.60 เมตร ยาวกว่า 2.00 เมตร จำนวน 8 แผ่น ซึ่งไม้นี้เป็นไม้ที่ได้มาจากต้นไม้เพียงต้นเดียว แสดงให้เห็นว่าจะต้องเป็นต้นไม้ที่ใหญ่มาก ใช้เวลาเลื่อยและอบที่ประเทศไทยเป็นเวลา 3 เดือน 

เช็คอับดุลวาฮับ อับดุลวะเซียะ ซึ่งเป็น รมต.ฮัจญ์ ในขณะนั้น ก็ได้มาตรวจดูงานอยู่เป็นระยะ ๆ เมื่อทำงานได้ประมาณ 60 % มกุฎราชกุมาร ฟาฮัด (ในขณะนั้น) ก็ทรงเสด็จเยี่ยมชมการทำงานเช่นเดียวกัน 

การทำประตูกะบะห์นั้นมีปัญหาเกี่ยวกับความร้อนสูงและความชื่นภายในกะบะห์อาจทำให้ไม้นั้นยืดและหดตัวได้ จึงต้องใช้วิธีตัดซอยไม้จากแผ่นใหญ่ออกให้เป็นส่วนที่เล็กลง เพื่อทำการเข้าลิ่ม เหมือนกับบ้านไทยโบราณโดยใช้กาวและตะปูเป็นตัวเชื่อม เพื่อให้รองรับการยืดหดตัวของไม้ 

ส่วนในเรื่องของทองนั้นช่างทอง ต้องหลอมและรีดให้เป็นแผ่น ขนาด 1 คูณ 3 เมตร แล้วเขียนแบบตัวคอตแล้วจึงตอกเป็นตัวนูน ซึ่งผู้ที่เขียนภาษาก็คือ เช็คอับดุลรอฮีม อามีน แต่ในขณะนั้นท่านสุขภาพไม่ดีจึงต้องเข้าออกรักษาตัวโรงพยาบาลประจำ จึงทำให้การเขียนนั้นต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปีกว่า 

สำหรับขั้นตอนในการติดตั้งนั้น ผู้ที่คอยดูแลในขณะที่ติดตั้งเป็นประจำคือ เช็คตอฮา อัชชัยบี ผู้ถือกุญแจประตูกะบะห์ในขณะนั้น ต้องใช้อุปกรณ์ติดตั้งเช่นนั่งร้าน และภายในกะบะห์ร้อนแต่ไม่สามารถนำพัดลมเข้าไปติดตั้งได้ต้องติดไว้ข้างนอก แล้วเปิดให้ลมเข้าไปเพียงอย่างเดียว

รายการบล็อกของฉัน