Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

เก้าอี้สำนักงานกับการเลือกซื้อใช้ให้เหมาะสม

เก้าอี้ดี งานก็เดิน.....(Office Chairs)
เก้าอี้สำนักงานเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการทำงาน นอกจากจะมีส่วนในการช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับสำนักงานหรือออฟฟิศแล้ว เก้าอี้สำนักงานยังถือเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อีกด้วย เพราะในบางครั้งเราต้องนั่งทำงานกันเป็นเวลานานๆ หรือบางคนอาจจะใช้เวลาในการทำงานในวันหนึ่งๆ เกือบ 12 ชั่วโมงเลยทีเดียว เรียกได้ว่านั่งกันเกือบทั้งวัน ดังนั้นเก้าอี้สำนักงานจึงเป็นสิ่งจำเป็น และควรพิถีพิถันในการเลือกกันเป็นพิเศษ
นอกจากจะทำให้การงานเจริญก้าวหน้า เพราะสามารถนั่งได้นาน ๆ แล้ว คุณรู้อีกหรือเปล่าวื่อกหาเก้าอี้ เก้าอี้ที่ดียังช่วยลดปัญหาเรื่องการปวดหลังปวดคอได้อีกด้วยดังนั้นเรามาเรียนรู้การเลือกหาเก้าอี้ทำงานดีๆ ไว้สักตัวกันดีกว่า
อย่ามองข้ามระบบกลไก  ปรับระดับขึ้น – ลง..........
ถ้าคุณมีงบประมาณสักหน่อย และต้องการเก้าอี้ที่มีคุณภาพ  ควรเลือกดูแบบที่มีระบบแก๊ส สังเกตง่ายๆ คือ เวลานั่งจะรู้สึกว่าเก้าอี้เด้งได้   กระบอกแก๊สที่ดีต้องสามารถรับการน้ำหนักได้พอดีกับตัวเรา  ถ้ามีความสามารถในการรับน้ำหนักได้มากก็จะไม่ยุบตัว  แต่ถ้าน้อยเกินไปก็จะยุบตัวและไม่เด้งกลับ  เก้าอี้ดีๆ บางรุ่นนั้นสามารถปรับระดับแก๊สมากหรือน้อยได้ตามต้องการ
แบบมีล้อหรือไม่มีล้อ เลือกอย่างไรให้เหมาะสม?
จะเลือกใช้แบบไหนก็ต้องกลับมาดูพฤติกรรมการทำงานของคุณก่อน  ถ้าเป็นคนที่ทำงานอยู่กับที่  ไม่เคลื่อนตัวไปไหนมากนัก  แบบไม่มีล้อและหมุนได้อย่างเดียวก็จะน่าพอแล้ว  แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบความคล่องตัวและมักขยับตัวไปโน่นมานี่อยู่บ่อยๆ ใช้แบบมีล้อจะเหมาะสมกว่า
นอกจากนี้ต้องเลือกล้อให้ดีๆ ด้วย โดยในปัจจุบันมีล้ออยู่ 3 ประเภท คือ
1.ล้อที่ใช้กับพื้นไม้อย่างเดียว
2.ล้อที่เหมาะใช้กัพื้นพรม
3.ล้ออเนกประสงค์ที่ใช้ได้ทั้งพื้นไม้และพื้นพรม

แนะนำให้เลือกแบบที่ 3 จะเหมาะที่สุด เพราะเผื่อคุณอยากจะย้ายส่วนทำงานไปยังห้องต่างๆ ก็จะได้ไม่เป็นปัญหาภายหลัง
**(ลักษณะฐานเก้าอี้แบบไม่มีล้อจะมีปุ่มยางอยู่ที่ฐานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรอยขีดข่วนเวลาลากเก้าอี้ไปมา  ส่วนแบบมีล้อนั้น  ในท้องตลาดโดยทั่วไปจะเป็นแบบอเนกประสงค์ โดยที่ตัวล้อจะมียางเคลือบอยู่ เพื่อไม่ให้พื้นเกิดรอยขีดข่วนเช่นกัน)

เก้าอี้ที่ดีมี พนักพิง อย่างไร?        
ถ้าแบ่งตามความสูงของพนักพิงจะมี 3 แบบ  คือ          
*พนักพิงที่ต่ำกว่าไหล่ (Row Back)        
*พนักพิงที่สูงเสมอไหล่ (Mid Back)        
*พนักพิงที่สามารถรองรับคอได้ (Height Back)
ซึ่งจะเลือกแบบไหนก็แล้วแต่ความชอบและความหรูหรา อย่างถ้าเป็นองค์กรต่างๆ ก็จะเลือกตามตำแหน่งหน้าที่ของพนักงาน แต่สำหรับใช้ที่บ้าน เราก็เลือกตามรูปแบบดีไซน์ที่ถูกใจได้...ไม่มีปัญหา
เก้าอี้ดีๆ เวลานั่งแผ่นหลังต้องชิดกับพนักพิง โดยต้องรองรับแนวกระดูกสันหลังส่วนกลาง (Lumbar Support) เมื่อเราพิงพนักน้ำหนักตัวจะถูกถ่ายไปอยู่ที่พนัก  ไม่ใช่ที่ส่วนก้น ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ เมื่อเราไม่พิงพนักแล้ว พนักจะต้องยื่นมาด้านหน้าเล็กน้อย เพราะเวลานั่งทำงานตัวเราจะต้องโน้มมาด้านหน้า ซึ่งพนักจะช่วยรองรับแผ่นหลังของเราได้พอดี........
 วัสดุ  “ ไส้ใน ” ของเบาะต่างกันอย่างไร
เบาะที่เรานั่ง ภายในจะมีฟองน้ำหรือโฟมหลาย ๆ แบบ ตั้งแต่ราคาถูกมากๆ จนถึงราคาแพงลิ่ว เก้าอี้ที่ราคาถูกฟองน้ำจะเหมือนกับที่เราใช้ล้างจาน  คือมีรูพรุนขนาดใหญ่ ใช้ไปสักพักจะยุ่ยและหายไป ที่ระดับราคาปานกลางดีขึ้นมาหน่อย  จะเป็นโฟมที่มี
ความหนาแน่นสูง (High Density Foam หรือ  Molded Foam) คือมีความแข็งมากขึ้น ไม่ยุบตัวหรือเปื่อยยุ่ยง่าย  สำหรับโฟมที่ดีที่สุด เรียกว่า Memory Foam  มีคุณสมบัติเหมือนฟองน้ำที่ใช้ทำเตียงราคาแพง จะยุบตัวลงเมื่อรับน้ำหนักตัวเราและห่อหุ้มขาเพื่อป้องกันการกดทับของเส้นเลือดที่ขาจากการนั่งนาน ๆ ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีอยู่เสมอ แต่ราคาอาจจะแพงกว่าแบบทั่วไปสักหน่อย

วัสดุหุ้ม มีอะไรบ้าง คุณสมบัติต่างกันอย่างไร
วัสดุหุ้มมีอยู่ 4 อย่าง คือ  ผ้า  หนังเทียม  หนังแท้  และเป็นตาข่าย (แบบไม่ต้องหุ้ม) คุณสมบัติของหนังแท้และหนังเทียมนั้นไม่ต่างกันเท่าไหร่ แต่หนังแท้จะให้ความสวยงามและคงทนกว่า  สำหรับความแตกต่างระหว่างผ้ากับหนังนั้น (ทั้งแท้และเทียม) หนังจะทำความสะอาดและดูแลรักษาได้ง่ายกว่าผ้า แต่เวลานั่งอาจจะรู้สึกร้อนและไม่สบายตัวเพราะระบายอากาศได้ไม่ดีเท่าผ้า แถมผ้าเองก็ยังเล่นลายและมีสีให้เลือกเยอะกว่า  ส่วนตาข่ายจะเน้นดีไซน์ที่เรียวบางดูทันสมัย และยังระบายอากาศได้ดีอีกด้วย
**TIP  ปัจจุบันมีผ้าหลายเกรด ทั้งที่เป็นเส้นใยสังเคราะห์ประเภท ซินเทติก (Synthetic) ซึ่งดูแลรักษาง่าย เพราะไม่ซับน้ำเหมือนเส้นใยธรรมชาติ แต่เวลาของหกใส่ต้องรีบซับเพื่อไม่ให้ซึมเข้าไปถึงชั้นโฟม  เพราะโฟมจะซึมน้ำไว้ทำให้เช็ดไม่ออก ถึงตอนนั้นแล้วจะใช้ผ้าหุ้มแบบไหนก็คงช่วยอะไรไม่ได้นะ

โครงสร้างเก้าอี้มีกี่แบบ?          
โครงสร้างเก้าอี้เป็นตัวบอกถึงความคงทน  น้ำหนัก  รวมไปถึงความสวยงาม  ทั่วไปมีอยู่ 3 แบบ  คือ
1. โครงสร้างไม้อัด โดยขึ้นรูปทั้งตัวแล้วกรุโฟมทับ มักจะเป็นรูปร่างพิเศษ ดีไซน์สวย
2. โครงสร้างพลาสติก  มีน้ำหนักเบาที่สุด แต่ไม่คงทนเท่าแบบอื่นๆ
3. โครงเหล็ก  มีน้ำหนักมากที่สุด ทนทาน แต่อาจมีข้อจำกัดในการขึ้นรูปดีไซน์ยาก ๆ
         
ตัวโครงของเก้าอี้ไม่ใช่ปัจจัยหลัก ๆที่ช่วยในการตัดสินใจซื้อ อาจต้องดูปัจจัยอื่นเสริมด้วย เช่น รูปแบบ งบประมาณ  ความชอบ  และที่สำคัญตัวโครงที่ขึ้นรูปต้องทำให้นั่งสบายด้วย

เท้าแขน มีทั้งแบบ พลาสติก และแบบยาง โดยทั่วไปต้องมีขนาดใหญ่กว่าสองนิ้วครึ่งและสามารถปรับระดับได้ เพื่อให้เข้ากับระดับสรีระของแต่ละคน  ทั้งเลื่อนขึ้นลงและกางออกสำหรับคนตัวใหญ่  ส่วนนวมนิ่ม ๆ ตรงที่เท้าแขนก็ควรจะต้องยืดหยุ่นสักหน่อย  เพื่อไม่ให้กดทับเส้นเลือดเวลาวางมือตอนพิมพ์ดีด  แต่สำหรับคนที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้งานคอมพิวเตอร์มาก ๆ อาจไม่ต้องมีที่เท้าแขน หรือมีเท้าแขนแบบไม่มีที่ปรับระดับก็ได้ก่อน ตัดสินใจ ซื้อ........
ขั้นที่ 1  ลองเลือกดูดีไซน์ที่คุณชอบ เปรียบเทียบงบประมาณกับราคา  สำหรับวัสดุไส้ในที่เราไม่สามารถมองเห็นได้นั้น  ตั้งข้อสังเกตเบื้องต้นง่ายๆ ว่า  ถ้าเก้าอี้ราคาถูกมากๆ โฟมข้างในก็น่าจะไม่ใช่โฟมที่มีความหนาแน่นสูง หรือ Memory Foam
ขั้นที่ 2  ทดลองนั่ง และปรับระดับต่าง ๆ ว่าเข้ากับสรีระของคุณหรือไม่  คือ หลังด้านล่างต้องชนกับพนัก  เท้าวางได้ราบเสมอกับพื้น  เท้าแขนวางแล้วมือเสมอกับข้อศอก
ขั้นที่ 3  สอบถามเรื่องวัสดุของเก้าอี้จากพนักงาน  เพื่อจะได้ทราบคุณสมบัติพื้นฐานของเก้าอี้ว่าดีและเหมาะสมกับการใช้งานหรือไม่
ขั้นที่ 4  ลองยกเก้าอี้  เก้าอี้ที่ดีควรจะต้องหนัก  เพราะเวลาพิงพนัก เราจะถ่าน้ำหนักหงายตัวไปด้านหลัง  เก้าอี้จึงต้องมีฐานล้อที่กว้างกว่าลำตัว  รวมถึงต้องแข็งแรงและหนักพอสมควร  จึงจะไม่ทำให้เราหงายหลัง  เก้าอี้ดี ๆ เราจะเอนได้จนเหมือนเกือบจะนอนได้  โดยที่มั่นใจได้ว่าจะไม่ล้มหรือหงายหลัง
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย menmen

รายการบล็อกของฉัน