เรื่องโดย ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ (ขอขอบคุณ)
หลายท่านอาจจะไม่ทราบว่าตู้หนังสือของท่าน ที่สูงตั้ง 2 – 3 เมตรนั้นหนักกว่าไม้ซุงทั้งต้นเสียอีก เพราะซุงไม้ยังพอจะมีช่องว่างอากาศอยู่ภายในบ้าง แต่ไอ้เจ้าตู้หนังสือของท่านนั้นอาจจะไม่มีที่ว่างให้ฟองอากาศสักกะนิดเดียว เลยก็ได้ ดังนั้นหากท่านมีห้องสมุดในบ้านหรือตู้หนังสือใหญ่โต โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สูง ๆ
พื้นห้องสำหรับบ้านพักอาศัยถูกออกแบบไว้ให้ รับน้ำหนักได้ 150 กิโลกรัม/ ตารางเมตร อาจจะหน้ามืดต้องมารับน้ำหนักตู้หนังสือที่รักของท่านตั้ง 500-1,000 กิโลกรัม/ ตารางเมตร อาการหรือปฏิกริยาที่เกิดก็คือพื้นรับน้ำหนักเกินความสามารถของมัน อาจจะแอ่นหรือแตกร้าวหรือทรุดลงไปก็ได้ ทาง แก้คงจะไม่ใช่ท่านเลิกอ่านหนังสือ หรือเอาหนังสือไปขายเจ๊ก (ไทย) ขวดมาขาย ซึ่งคงจะทำให้ท่านไม่มีความสุขแน่นอน ทางแก้มีอยู่ 2 วิธีคือ
คุณต้องเตรียมการว่าบริเวณใดคุณจะเป็นห้องสมุด หรือบริเวณใดที่คุณน่าจะจัดวางตู้หนังสือ เพื่อจะได้เผื่อโครงสร้างไว้ให้แข็งแรงเพียงพอ แต่วิธีนี้คงเป็นเรื่องยาก เพราะคุณอาจจะไม่ได้คิดไว้หรือซื้อบ้านจัดสรร หรือซื้อบ้านต่อจากคนอื่นมาอีกที
คุณอาจพยายามหาว่าพื้นห้องของคุณนั้นมีบริเวณใดที่อยู่ใกล้คาน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะอยู่บริเวณผนังห้อง ซึ่งพื้นห้องบริเวณนั้นน่าที่จะรับน้ำหนักได้มากกว่าพื้นกลางห้อง เพราะสามารถถ่ายเทน้ำหนักจากพื้นสู่คานและเสา ได้เร็วกว่าและในเวลาอันรวดเร็วกว่า แต่ก็ไม่ใช่วางใจว่าอยู่บริเวณคานแล้วท่านจะใส่น้ำหนักลงไปเท่าใดก็ได้ เพราะหากมีน้ำหนักมากเกินไป คราวนี้จะไม่เกิดอาการพื้นเอียง พื้นร้าว พื้นทรุดแล้ว แต่จะเกิดอาการแบบใหม่ที่เขาเรียกกันว่า “บ้านพัง” ครับ